MISC-Store2022-08-19T10:38:39+07:00ESG ย่อมาจาก Environment (สิ่งแวดล้อม), Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล)ทุกวันนี้นักลงทุนเริ่มหันมาสนใจผลการดำเนินงานเกี่ยวกับ ESG ขององค์กรมากขึ้นในการพิจารณาการลงทุน เพิ่มเติมจากแต่ก่อนที่มองแต่ศักยภาพในการทำกำไรของธุรกิจเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้บริษัทที่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้อย่างโปร่งใส และมีการพัฒนาในด้าน ESG จึงน่าดึงดูดใจนักลงทุนมากกว่า
Environment (สิ่งแวดล้อม)
ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมจะมุ่งเน้นไปที่ความพยายามของบริษัทในการที่จะลดผลกระทบเชิงลบต่อธรรมชาติของเรา บริษัทสามารถสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมได้โดยการใช้ทรัพยากรที่หมุนเวียน (Renewable) ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง (Waste) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลิตสินค้าที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reuse/Recycle)
Social (สังคม)
ตัวชี้วัดด้านสังคมจะมุ่งเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ของธุรกิจ เช่น นักลงทุน พนักงาน และชุมชนโดยรอบบริษัท ผลกระทบต่อสังคมของบริษัทควรช่วยรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของส่วนรวมโดยดำเนินไปในทิศทางเดียวกันกับตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำธุรกิจ
Governance (ธรรมาภิบาล)
เพื่อเป็นการยืนยันว่าบริษัทดำเนินกิจการได้เป็นอย่างดีและมีคุณธรรม ปราศจากการคอร์รัปชั่นหรือส่งผลกระทบเชิงลบต่อภายนอกองค์กร ผู้บริหารได้มีการสับสนุนหรือกำหนดมาตรฐานการทำงานเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจหรือไม่ มีกระบวนการในการติดตามและตรวจสอบพาร์ทเนอร์หรือผู้ขายสินค้า (Supplier) ที่อาจจะละเมิดกฎข้อบังคับอย่างไร คำถามเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยในการประเมินด้านธรรมาภิบาลที่บริษัทจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ถึงแม้ว่าการประเมิน ESG จะหมายรวมถึงความยั่งยืน (Sustainability) ของการดำเนินธุรกิจ แต่ความยั่งยืนก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งใน ESG เท่านั้นเกณฑ์ในการประเมิน ESG ครอบคลุมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของบริษัทในหลากหลายหัวข้อ ซึ่งความยั่งยืนจะวัดจากการที่บริษัทดำเนินธุรกิจโดยไม่ส่งผลเสียต่ออนาคต ในทางทฤษฎีแล้วหากบริษัทพัฒนากิจการตามหลัก...