Sustainable Packaging Blog - Cover

แพคเกจจิ้งที่ยั่งยืน: ทำไมกระดาษห่อกันกระแทกถึงกำลังมาแทนที่แอร์บับเบิ้ล

      ไม่ว่าจะเป็นการย้ายบ้านหรือสั่งซื้อของออนไลน์ เรามักจะหนีไม่พ้นที่จะต้องพบเจอกับบับเบิ้ลห่อกันกระแทกภายในกล่อง แม้ว่าการบีบเม็ดบับเบิ้ลเล่นจะเพลินดีแต่รู้หรือไม่ว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะทดแทนการใช้พลาสติกบับเบิ้ลเหล่านี้เพื่อลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่กำลังโตไปพร้อมกับโลกการค้าออนไลน์      โชคดีที่ทางเลือกทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นมีให้เลือกใช้อยู่ในท้องตลาดเหมือนกัน นั่นก็คือกระดาษรังผึ้ง (honeycomb paper) ที่มีคุณสมบัติกันกระแทกได้เหมือนบับเบิ้ลพร้อมทั้งยังสามารถรีไซเคิลได้ 100%

แล้วสินค้าประเภทไหนที่จำเป็นต้องห่อกันกระแทก?

เหตุผลที่เราห่อสินค้านั้นมีหลากหลาย       - ป้องกันรอยขีดข่วนบนพื้นผิวสินค้า      - ป้องกันการกระแทกกันภายในกล่อง      - สร้างความประทับใจแก่ผู้รับเมื่อเปิดกล่อง       ความแตกต่างระหว่างการห่อกันกระแทกสินค้ากับการเติมเต็มพื้นที่ว่างภายในกล่องเพื่อกันกระแทกนั้นอยู่ตรงที่การห่อกันกระแทกจะช่วยปกป้องพื้นผิวสินค้าได้ดีกว่า การเติมเต็มพื้นที่ว่างเหมาะสำหรับการล็อคสินค้าไม่ให้เคลื่อนที่ภายในกล่องและช่วยรับแรงกระแทก ดังนั้นหากเราต้องการปกป้องพื้นผิวสัมผัสของสินค้าจากรอยขีดข่วนก็สามารถใช้กระดาษห่อกันกระแทกควบคู่ไปด้วยได้ สินค้าที่เปราะบางหลายอย่างมักจะมีมูลค่าสูง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การห่อกันกระแทกเป็นสิ่งจำเป็น อย่างเช่น       - สินค้าอิเล็กทรอนิกส์      - เซรามิก เครื่องแก้ว      - ของสะสม สินค้าทำมือ

แล้วทำไมถึงต้องเปลี่ยนจากการใช้บับเบิ้ลกระแทกมาใช้แพคเกจจิ้งกระดาษล่ะ?

     ...

Read more...
Blog ESG - Cover

ESG คืออะไร? แล้วสำคัญอย่างไรกับแพคเกจจิ้ง

ESG ย่อมาจาก Environment (สิ่งแวดล้อม), Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล)ทุกวันนี้นักลงทุนเริ่มหันมาสนใจผลการดำเนินงานเกี่ยวกับ ESG ขององค์กรมากขึ้นในการพิจารณาการลงทุน เพิ่มเติมจากแต่ก่อนที่มองแต่ศักยภาพในการทำกำไรของธุรกิจเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้บริษัทที่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้อย่างโปร่งใส และมีการพัฒนาในด้าน ESG จึงน่าดึงดูดใจนักลงทุนมากกว่า

Environment (สิ่งแวดล้อม)

ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมจะมุ่งเน้นไปที่ความพยายามของบริษัทในการที่จะลดผลกระทบเชิงลบต่อธรรมชาติของเรา บริษัทสามารถสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมได้โดยการใช้ทรัพยากรที่หมุนเวียน (Renewable) ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง (Waste) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลิตสินค้าที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reuse/Recycle)

Social (สังคม)

ตัวชี้วัดด้านสังคมจะมุ่งเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ของธุรกิจ เช่น นักลงทุน พนักงาน และชุมชนโดยรอบบริษัท ผลกระทบต่อสังคมของบริษัทควรช่วยรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของส่วนรวมโดยดำเนินไปในทิศทางเดียวกันกับตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำธุรกิจ

Governance (ธรรมาภิบาล)

เพื่อเป็นการยืนยันว่าบริษัทดำเนินกิจการได้เป็นอย่างดีและมีคุณธรรม ปราศจากการคอร์รัปชั่นหรือส่งผลกระทบเชิงลบต่อภายนอกองค์กร ผู้บริหารได้มีการสับสนุนหรือกำหนดมาตรฐานการทำงานเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจหรือไม่ มีกระบวนการในการติดตามและตรวจสอบพาร์ทเนอร์หรือผู้ขายสินค้า (Supplier) ที่อาจจะละเมิดกฎข้อบังคับอย่างไร คำถามเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยในการประเมินด้านธรรมาภิบาลที่บริษัทจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ถึงแม้ว่าการประเมิน ESG จะหมายรวมถึงความยั่งยืน (Sustainability) ของการดำเนินธุรกิจ แต่ความยั่งยืนก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งใน ESG เท่านั้นเกณฑ์ในการประเมิน ESG ครอบคลุมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของบริษัทในหลากหลายหัวข้อ ซึ่งความยั่งยืนจะวัดจากการที่บริษัทดำเนินธุรกิจโดยไม่ส่งผลเสียต่ออนาคต ในทางทฤษฎีแล้วหากบริษัทพัฒนากิจการตามหลัก...

Read more...
6-reasons-post-cover

6 สาเหตุทำไมบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Packaging) กำลังเป็นเมกะเทรนด์ของโลก

      มีเหตุผลมากมายว่าทำไมการเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนนั้นสำคัญ แต่ 6 เหตุผลหลักๆ ที่เราหยิบยกมานี้สามารถยืนยันได้ว่าการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนนั้นเป็นสิ่งจำเป็นต่ออนาคตและมีศักยภาพในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ไปข้างหน้า โดยเกี่ยวพันกับปัจจัยทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค และหน่วยราชการผู้ควบคุมนโยบาย ก่อให้เกิดโมเมนตัมผลักดันให้เป็นเมกะเทรนด์โลกที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจ1. โลกของเราต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนจากผลการสำรวจทั่วโลก พบว่ากว่า 42% ของพลาสติกถูกผลิตขึ้นมานั้นเพื่อใช้ในงานบรรจุภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตมาเพื่อใช้เพียงครั้งเดียว (single use) ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะระยะยาวในระบบนิเวศ 90% ของพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาไม่ได้ถูกนำไปรีไซเคิล แต่ถูกกำจัดโดยการเผา ฝังกลบ หรือแย่ไปกว่านั้นคือปล่อยออกไปสู่สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติใช้เวลานานถึง 20 ถึง 400 ปีหรืออาจจะมากกว่า ในการที่ย่อยสลายพลาสติกถึงแม้จะย่อยสลาย เศษจากการย่อยสลาย หรือที่เราเรียกว่า “ไมโครพลาสติก” (Microplastics) จะยังคงปนเปื้อนอยู่ในทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ ดิน หรือแม้แต่ในอาหารของเราการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนสามารถช่วยยับยั้งวงจรความน่ากลัวเหล่านี้ได้ 2. มีการบังคับลดจำนวนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในหลายๆ ประเทศในปี 2021 ประเทศออสเตรเลียได้ประกาศแผนงานระดับชาติที่จะงดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียว (single-use plastics) ภายในปี 2025 นอกจากประเทศออสเตรเลียแล้วยังมีอีกหลายเมือง หลายประเทศได้เริ่มต้นอย่างจริงจังในการงดใช้พลาสติกประเภทนี้ในทิศทางเดียวกันสหภาพยุโรป...

Read more...
PUFoamvsPadPak-cover

ทางเลือกใหม่ที่ยั่งยืน : ระหว่าง Polyurethane foam (พียูโฟม) และ PadPak (กระดาษกันกระแทก)

      เป็นเวลากว่า 60 ปีแล้วที่ Polyurethane foam (โพลียูรีเทนโฟม) หรือที่เราเรียกกัน “พียูโฟม” “โฟมฉีด” “โฟมกันกระแทก” “Foam in place” ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการป้องกันสินค้าในการขนส่ง แต่ในระยะ 7 ปีที่ผ่านมาความนิยมในการใช้งานโฟมชนิดนี้เริ่มมีแนวโน้มลดลงเป็นผลพวงมาจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม นำไปสู่ทางเลือกทดแทนนั่นก็คือวัสดุที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีอย่างเช่น “กระดาษ” แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ “กระดาษ” ไม่ได้เป็นเพียงแค่ “กระดาษอย่างที่เราคิด” อีกต่อไป       ผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มตระหนักมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่งต่อสิ่งแวดล้อม 78% ของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาคาดหวังว่าหลายแบรนด์สินค้าจะหันมาใช้กระดาษในการแพ็คส่งสินค้าแทนการใช้พลาสติก ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคส่วนใหญ่ในโลก พียูโฟมนั้นเป็นสารประกอบทางเคมีที่ถูกจัดประเภทที่ 1 มีความรุนแรงสูงสุดเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง รวมไปถึงเป็นสารที่มีโอกาสก่อให้เกิดมะเร็งได้       นอกจากนั้น การเปลี่ยนมาใช้กระดาษแทนพลาสติกก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีเนื่องจากกระดาษนั้นสามารถรีไซเคิลได้และผลิตจากวัสดุที่มีความยั่งยืน 100% ในทางกลับกันขยะพลาสติกถือเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อ้างอิงจาก

Read more...
Cover-Ranpak Blog2

Ranpak แพคเกจจิ้งกระดาษเปลี่ยนโลก

     ก่อตั้งขึ้นในปี 1972 Ranpak คือผู้นำในอุตสาหกรรมแพคเกจจิ้งกระดาษ ด้วยคุณสมบัติการปกป้องที่ดีในขณะเดียวกันก็ยึดมั่นในเรื่องของความยั่งยืน นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์กระดาษของ Ranpak ยังเกิดขึ้นมาเพื่อช่วยลดเวลาและวัสดุในการแพ็คสินค้า ส่งผลให้การบริหารต้นทุนรวมของธุรกิจดียิ่งขึ้นปัจจุบันในโลกเรามีการผลิตพลาสติกราวๆ 400 ล้านตัน/ปี มีเพียง 9% ของพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาเท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิลกว่า 60 ประเทศทั่วโลกเริ่มรณรงค์ยับยั้งการใช้พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง (single-use plastic) เพื่อลดจำนวนขยะพลาสติกด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์แพคเกจจิ้งกระดาษจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่าเพื่อความยั่งยืนของโลกเรา เพราะ...•   หมุนเวียนได้ (Renewable) กระดาษผลิตจากทรัพยากรที่สามารถหมุนเวียนเติบโตขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งต้นไม้ก็จะช่วยดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากอากาศในขณะที่เติบโต•   ย่อยสลายได้ (Biodegradable) กระดาษสามารถย่อยสลายไปตามธรรมชาติใช้เวลาเพียงสัปดาห์ไปจนถึงไม่กี่เดือน แต่วัสดุอื่นที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น พลาสติก สามารถอยู่ได้ยืนยาวกว่าชั่วอายุคน จนบางทีดูเหมือนมันอาจจะไม่สามารถย่อยสลายไปได้เลยด้วยซ้ำ•   รีไซเคิลได้ (Recyclable) กระดาษสามารถถูกนำกลับมาใช้ใหม่ผ่านกระบวนการรีไซเคิล ซึ่งจะช่วยลดการทำลายป่าไม้ ลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และไม่เป็นปัญหาต่อการกำจัดขยะโดยการฝังกลบ อีกทั้งยังช่วยลดการพึ่งพาพลาสติกซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี     Ranpak คือผู้นำในเรื่องแพคเกจจิ้งกระดาษ ที่นอกจากจะช่วยปกป้องสินค้าแล้วยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซและอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานและต้นทุนของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยทดแทนแพคเกจจิ้งดั้งเดิมที่เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอย่างพลาสติก ผลิตภัณฑ์แพคเกจจิ้งกระดาษที่...

Read more...
fsc คืออะไร

FSC คืออะไร?

      หากเอ่ยถึง FSC หลายคนคงสงสัยว่าคืออะไร แต่ถ้าบอกว่า FSC คือองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการจัดการป่าไม้อย่างรับผิดชอบทั่วโลก ซึ่ง FSC นี้ยังเป็นเครื่องหมายการันตีสินค้าที่ผลิตจากกระดาษและไม้ด้วยว่าสินค้าที่คุณถืออยู่นี้ผลิตโดยไม่ทำลายป่าไม้ธรรมชาติ เห็นอย่างนี้แล้วเรามาทำความรู้จักกับเครื่องหมายนี้กันหน่อยดีกว่า     FSC ย่อมาจาก Forest Stewardship Council คือองค์กรนานาชาติที่ช่วยผลักดันและสนับสนุนการดูแลป่าไม้ทั่วโลกอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม และสามารถบริหารจัดการให้เกิดผลทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน ก่อตั้งขั้นในปี 1994 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Bonn ประเทศเยอรมนี การทำงานของ FSC คือการตรวจสอบและให้การรับรองป่าไม้โดยมีกฎเหล็กสำคัญในการพิจารณา 10 ประการอันได้แก่1. ถูกต้องตามกฎหมาย (Compliance with laws)2. การจ้างงานอย่างเป็นธรรม (Workers’ rights and employment conditions)3. เคารพสิทธิของคนพื้นเมืองในท้องที่ (Indigenous peoples’ rights)4. เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน (Community relations)5. การใช้ผลประโยชน์จากป่าไม้...

Read more...